วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ความร้อน


"...พลังความร้อน..."

1. ความหมายของความร้อน
        ความร้อนเป็นพลังงานรูปหนึ่ง สามารถทำงานได้ นำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ความร้อนเกิดจากดวงอาทิตย์ จากการเสียดสีของวัตถุ เกิดจากความร้อนแสง เกิดจากการเผ่าไหม้ของเชื่อเพลิง

2. การเครื่อนที่ของความร้อน
        ความร้อนเครื่อนที่จากที่หนึ่ไปยังอีกที่หนึ่งได้ ซึ่งเรียกว่า "การถ่ายโอนความร้อน" โดยอาศัยตัวกลางเป็นสื่อหรือเส้นทางเดิน
        ตัวกลางหรือสื่อของการถ่ายโอนความร้อน ได้แก่ อากาศ นํ้า โลหะ แก้ว

3. วิธีการถ่ายโอนความร้อน
3.1 ความร้อนถ่ายโอนจากที่ที่มีอุณหภูมิสูงกว่าไปสู่ที่ที่มีอุณหภูมิตํ่ากว่า
3.2 การนำความร้อน
        ตัวนำความร้อน เช่น เหล็ก ทองแดง ทองเหลือง อะลูมิเนียม ฉนวนความร้อน เช่น พลาสติก ไม้ ยางสังเคราะห์

4. การพาความร้อน
        การพาความร้อน คือการถ่ายโอนความร้อนที่เกิดจากที่สารใดสารหนึ่ง ได้รับความร้อนแล้ว ความหนาแน่นของอนุภาคน้อยลงขยายตัวลอยตัวสูงขึ้น พร้อมทั้งพาความร้อนไปด้วย ขณะเดียวกันส่วนอื่นที่ยังไม่ได้รับความร้อนยังมีความหนาแน่นของอนุภาคมากกว่า จะเคลื่อนมาแทนที่เป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนสสารนั้นได้รับความร้อนทั้วกัน เรียกว่า "การพาความร้อน"

5. การแผ่รังสี
        การแผ่รังสี คือ การถ่ายโอนความร้อนที่เกิดจากแหล่งความร้อนหนึ่ง ถ่านโอนความร้อนไปยังสารที่มีอุณภูมิตํ่ากว่า โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง เรียกว่า การแผ่รังสี เช่น การตากปลาแห้ง ตากเสื่อผ้ากลางแจ้ง

6. การวัดอุณภูมิ
        เราสามารถทราบได้โดยการ วัดระดับความร้อนของสิ่งนั้นๆ เครื่องมือที่ใช้วัดระดัความร้อน เรียกว่า "เทอร์โมมิเตอร์" ซึ่งทั่วไปนิยมใช้บอกองศาเซลเซียส และองศาฟาเรนไฮต์ การใช้โดยการให้กระเปาะเทอร์โมมิเตอร์สัมผัสกับสิ่งที่ต้องการวัดโดยตรงจริงๆเท่านั้นและตั้งตรง อ่านสเกลต้องอ่านในระดับสายตาและระดับเดียวกับของเหลวในเทอร์โมมิเตอร์

7. หลักการทำงานของเทอร์โมมิเตอร์
        จะบรรจุของเหลวที่ในปรอท หรือ แอลกอฮอล์ผสมสี เหตุที่ใช้ของเหลวนี้เพราะมีคุณสมบัติในการขยายและหดตัว หลักการสำคัญของเทอร์โมมิเตอร์ มีอยู่ว่า สารเมื่อได้รับความร้อนจะขยายตัว และเมื่อลดความร้อนจะหดตัว หรือมีการเปลี่ยนแปลงอุญหภูมิ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น